เมนู

3. อธิปติปัจจัย


[596] 1. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะที่เป็นภาว-
นายปหาตัพพธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
2. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะที่เป็นภาว-
นายปหาตัพพธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทําราคะนั้นให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อม
เกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
3. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำ
กุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม
ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ฌาน.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น
กระทำทานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.

4. อนันตรปัจจัย


[597] 1. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
มี 4 วาระ.
ภาวนาทุกะ เหมือนกับทัสสนทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

มี 4 วาระ
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[598] 1. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ